โรงเรียนบ้านเขาขวาง
หมู่ที่ 8 ถนนทางแยกเข้าโคกสลุง บ้านเขาขวาง  ตำบลโคกสลุง  อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี 15140
พันธกิจ / เป้าหมาย
พันธกิจ / เป้าหมาย
โรงเรียนบ้านเขาขวาง เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางการศึกษา ที่เกิดจากความมุ่งหวังจะยกระดับการศึกษาของชาติให้ได้มาตรฐานและจัดการศึกษาได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550        และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 จึงได้กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ คือการปฏิรูปการเรียนรู้ ระบบบริหาร และการจัดการศึกษา         ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา ได้แบ่งกลุ่มงาน               ตามกฎกระทรวงภายในโรงเรียน เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบริหารทั่วไป กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ
จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และศักยภาพการจัดการศึกษา  ของโรงเรียนบ้านเขาขวาง ได้ใช้เทคนิค SWOT Analysis นำมาวิเคราะห์ตามกลุ่มปัจจัย โดยแบ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ดังนี้
 
สภาพแวดล้อมภายนอก
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อหาสภาวะ และศักยภาพ ที่เป็นโอกาส และอุปสรรค จากกลุ่มปัจจัย 4 กลุ่ม ได้แก่
1.1  ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม (Social)

โอกาส

1. ภาพสังคม ยังเป็นสังคมชนบท มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และเอื้ออาทร ส่งผลให้เกิด           ความร่วมมือในการจัดการศึกษา
2. เส้นทางการคมนาคมสะดวก นักเรียนสามารถเดินทางจากบ้านไปโรงเรียนได้สะดวกขึ้น            
3. ประชาชนเห็นความสำคัญของการศึกษา ทำให้ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาสูงขึ้น
4. แนวโน้มปัญหาด้านสังคมบางส่วนลดลง เช่น ปัญหายาเสพติด ทำให้เอื้อต่อการพัฒนาการศึกษาของเยาวชน
5. ความกลมกลืนทางวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้
๖. หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน ผู้ปกครองมีความเข้มแข็งสนับสนุนการจัดการศึกษา
๗. มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง              การประกอบอาชีพทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกร
                    อุปสรรค
1. ผู้ปกครองขาดแคลนทุนทรัพย์ ไม่สามารถส่งบุตรหลานเรียนต่อในระดับสูง
2. การประกอบอาชีพของผู้ปกครองไม่มั่นคง มีปัญหาด้านการอพยพเพื่อการประกอบอาชีพส่งผลถึงการศึกษาของบุตรหลาน
3. ผู้ปกครองความรู้น้อย ทำให้เกิดปัญหาทางสังคม เช่น ครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง ทอดทิ้งบุตรหลานให้อยู่กับปู่ย่า ตายาย ก่อให้เกิดปัญหาต่อการศึกษาของบุตรหลาน
๔. ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ส่งผลให้ไม่สามารถดูแลเอาใจใส่การเรียนรู้ของนักเรียนเท่าที่ควร
1.2  ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technology)
                    โอกาส
1. ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ทำให้สังคมรับรู้ข่าวสาร การศึกษาสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง          
2. เทคโนโลยี เครื่องจักรกลด้านเกษตร มีความเจริญก้าวหน้า ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตและรายได้ ก่อให้เกิดการให้การสนับสนุนทางการศึกษามากขึ้น               
3. มีแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้
                    อุปสรรค
1. การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาด้านวัฒนธรรมและค่านิยม เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษา และการพัฒนาเยาวชน
2. สถานศึกษามีข้อจำกัดด้านสื่อ/เครื่องมือด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีคุณภาพในการนำมาใช้ในการจัดการศึกษา
๓. ขาดแคลนแหล่งเรียนรู้ สื่อ ICT ในชุมชน
๔. ใช้เครื่องมือสื่อสารไม่สมเหตุสมผลกำความจำเป็น
1.3  ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economy)
                    โอกาส
1. รัฐสนับสนุนด้านการลงทุน ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
2. มีแหล่งทรัพยากรที่เหมาะแก่การลงทุน ส่งผลต่อการมีงานทำ และเพิ่มรายได้
๓. หน่วยงานภายนอกให้การสนับสนุนในการจัดการศึกษาเพิ่มขึ้น          
          อุปสรรค
1. การประกอบอาชีพของผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังไม่มั่นคง ส่งผลต่อรายได้และการศึกษาของบุตรหลาน
2. เศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจแบบครัวเรือน ยังไม่พัฒนาสู่ภาคอุตสาหกรรม
๓. ราคาพืชผลทางการเกษตรไม่แน่นอน ส่งผลต่อรายได้ของชุมชน
1.4  ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย  (Political)
                    โอกาส
1. รัฐธรรมนูญ/พระราชบัญญัติ/นโยบายของรัฐ เอื้อต่อการพัฒนาการศึกษา และสร้าง โอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง   
2. นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มีการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา ทำให้มีอิสระในการบริหารจัดการมากขึ้น    
3. ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
                    อุปสรรค
1. การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบนโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้องทางการศึกษายังไม่ทั่วถึง  ทำให้นโยบายไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร                 
2. กฎหมายทางการศึกษา ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ทันต่อการปฏิรูปการศึกษา     
3. สถานศึกษาไม่มีความพร้อม ไม่สามารถดำเนินการตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดได้
๔. กฎหมายบางมาตรากำหนดภาระหน้าที่ของครูมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕. กฎหมายการลดอัตรากำลังภาครัฐทำให้โรงเรียนขาดครูในการสอนนักเรียน 
2.  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน เพื่อหาสภาวะและศักยภาพที่เป็นจุดแข็ง และจุดอ่อน จากกลุ่มปัจจัย 6 กลุ่ม ได้แก่

  1.  ปัจจัยด้านโครงสร้างนโยบาย (Structure)
จุดแข็ง            
1. มีการจัดโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน   
2. นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีความชัดเจน สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด          
3. นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
๔. เป็นโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา ส่งผลให้นโยบายมีความชัดเจน
จุดอ่อน
1. การจัดโครงสร้างการบริหารงาน และระบบงานยังมีความซ้ำซ้อนในการนำภารกิจไปสู่    การปฏิบัติ เนื่องจากบุคลากรไม่เพียงพอ
2. การประสานงานภายในองค์กร และระหว่างองค์กร ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
๓. นโยบายจากส่วนกลางมีความซับซ้อน ขาดความแน่นอน ปรับเปลี่ยนไว ก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ

  1.  ปัจจัยด้านผลผลิตและบริการ (Service)
จุดแข็ง              
1. ประชากรในวัยเรียน ได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเสมอภาค
2. การส่งเสริม สนับสนุนทางการศึกษาแก่เด็กพิการและด้อยโอกาส         
3. การให้บริการแก่หน่วยงาน ชุมชน และบุคลทั่วไป
๔. ส่งเสริมการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งความรู้ คุณธรรม จิตใจ ร่างกาย สังคม และสติปัญญา     
จุดอ่อน              
1. ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (O–Net) ต่ำกว่าระดับประเทศ
2. การให้บริการแก่หน่วยงานในสังกัด ยังไม่ทั่วถึง 
๓. ยังคงมีนักเรียนที่ประสบปัญหาขาดการดูแลเอาใจใส่ในด้านครอบครัว

  1.  ปัจจัยด้านบุคลากร (Man)
จุดแข็ง
1. บุคลากรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการสอน
2. บุคลากรส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาตรงตามความต้องการ และความจำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
๓. บุคลากรใส่ใจใฝ่เรียนรู้ พัฒนาตนเองสม่ำเสมอ
๔. บุคลากรร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสามัคคี อย่างมีประสิทธิภาพ
๕. บุคลากรมีการอบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ในด้านการจัดการเรียนการสอนและภาระงานอื่น ๆ อยู่เสมอ
จุดอ่อน
๑. บุคลากรไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน
๒. ขาดบุคลากรบางสาขาวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ พลศึกษา นาฏศิลป์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านการพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียนลดลง

  1.  ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ (Management)
จุดแข็ง                   
1. มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการทางการศึกษา
2. บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ                   
3. มีการมอบอำนาจ/การกระจายอำนาจในการบริหารจัดการที่ดี
4. มีการลดขั้นตอน และระยะเวลาในการบริหารจัดการ   
5. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
๖. มีการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ต่อเนื่องและทั่วถึง เช่น ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบออนไลน์ การประกาศเสียงตามสาย การประชุม
๗. มีการการกำกับ ติดตาม และประเมินผลอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง
จุดอ่อน                     
๑. การประสานงานภายในองค์กร และระหว่างองค์กรมีความล่าช้า
๒. การบริหารจัดการงบประมาณบางรายการไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้

  1.  ปัจจัยด้านการเงิน (Money)
จุดแข็ง
1. การใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่าต่อการพัฒนางาน
2. การเบิกจ่ายงบประมาณ มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
จุดอ่อน
1. งบประมาณไม่เพียงพอ
2. การระดมทรัพยากรค่อนข้างมีปัญหา เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของชุมชนไม่ดี
3. การเบิกจ่ายงบประมาณบางรายการ มีขั้นตอนการปฏิบัติมาก ไม่เป็นไปตามกำหนด    เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน

  1.  ปัจจัยด้านวัสดุ อุปกรณ์ (Material)
จุดแข็ง
1. ได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์จากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น โครงการกองทุนการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐ และเอกชน
จุดอ่อน                  
1. เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการบริหารจัดการไม่เพียงพอ
2. วัสดุ อุปกรณ์ บางชนิดขาดการบำรุง ซ่อมแซมเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน